วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดจำหน่าย



V001 Notocactus leninghausii (กระบองทอง) ในกระถาง 2 นิ้ว 25 บาท ต้นขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V002 Lobivia silvestrii Rowley ในกระถาง 2 นิ้ว 25 บาท ต้นขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต

.
V003. Echinopsis subdenudata ในกระถาง 2 นิ้ว 25 บาท ต้นขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V004. Mammillaria helen ในกระถาง 2 นิ้ว 25 บาท ต้นขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V005.Mammillaria bucareliensis cv.Erusamu ในกระถาง 2 นิ้ว 25 บาท ต้นขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V006. Mammillaria elongata DC. ในกระถาง 2 นื้ว 25 บาทรูปดอกเป็นภาพตัวอย่างจากทาง Internet
.
V007.Mammillaria elongata DC.ในกระถาง 2 นื้ว 25 บาท รูปดอกเป็นภาพตัวอย่างจากทาง Internet
.
V008. Mammillaria prolifera ssp. Arachnoidea ในกระถาง 2 นื้ว 25 บาท ด้านขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V009. Mammillaria prolifera ในกระถาง 2 นื้ว 25 บาท ด้านขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V010.Mammillaria vetula ssp. gracilis cv. roi baudoin yonneux ในกระถาง 2 นื้ว 25 บาท ด้านขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต
.
V011. Mammillaria vetula gracilis v. fragilis ในกระถาง 2 นื้ว 25 บาท ด้านขวามือเป็นรูปตัวอย่างตอนโต


การขยายพันธุ์แคคตัส



การขยายพันธุ์แคคตัสสามารถทำได้ 3 วิธี คือ



1. เพาะเมล็ด โดยใช้เมล็ดเล็กๆ ที่มีเป็นจำนวนมากในผลที่สุกเต็มที่ สังเกตว่าผลสุกเต็มที่หรือไม่
โดยสังเกตจาการเปลี่ยนสีของผล ผลนุ่มขึ้นหรือแห้ง วิธีการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งยังให้จำนวนต้นใหม่ในปริมาณมาก เมล็ดที่จะนำมาเพาะนั้นต้องนำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเท จากนั้นโรยเมล็ดลงบนวัสดุเพาะที่เป็นส่วนผสมระหว่างทรายและฮิวมัส (humus) หรือปุ๋ยใบไม้ผุ แล้วโรยทรายทับอีกชั้นหนึ่ง วัสดุเพาะนี้ต้องอบฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาใช้งาน หรือรดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อราเข้มข้นที่ทำให้เจือจางแล้ว จะเพาะในกระบะ ตะกร้า หรือในกระถางก็ได้ ที่สำคัญคือ ต้องรักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่อยู่เสมอ สำหรับอากาศร้อนอย่างบ้านเราควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์คลุมทับ หรือใช้ถุงพลาสติกห่อกระถางเพาะเพื่อช่วยรักษาความชื้นไว้ ความชื้นที่สูงเกินไปจะทำให้เมล็ดหรือต้นอ่อนเน่า เช่น เป็นโรคเน่าคอดิน (damping-off) ซึ่งมีอาการโคนต้นช้ำเน่าเละ หรือติดเชื้อที่เกิดจากแมลง ชนิดหลังนี้ควรกำจัดด้วยยาฆ่าแมลงประเภทสัมผัสตาย ไม่ควรใช้ประเภทดูดซึม เพราะจะส่งผลถึงต้นเมื่อดูดน้ำและธาตุอาหารเข้าไป ควรเลือกใช้ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของต้นแคคตัส สำหรับเปอร์เซ็นต์การงอกและระยะเวลาในการงอกของแคคตัสนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการเพาะด้วย



2. การตัดแยก เป็นวิธีง่ายๆ ใช้อุปกรณ์เพียงมีดคมเท่านั้น แคคตัสส่วนใหญ่เมื่อ
ถูกแยกจากต้นแล้วมักเกิดรากได้ง่าย เช่น สกุล Echinopsis, Epiphyllum, Opuntia, Zygocactus (Christmas Cacti) ควรตัดแยกแคคตัสในต้นฤดูฝน เพราะสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เมื่อตัดต้นกิ่ง หรือหัวย่อยออกมาแล้ว ควรผึ่งให้แห้ง หรือจุ่มในผงอะลูมิเนียม (aluminium powder) หรือฮอร์โมนเร่งราก เช่น NAA, IAA, IBA ทั้งนี้เพื่อช่วยป้องกันเชื่อโรคด้วย จากนั้นนำลงชำหรือเพาะในวัสดุปลูกที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ระบายน้ำดี แต่ต้องเก็บความชื้นได้สม่ำเสมอ โดยวิธีที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการเพาะเมล็ด ควรวงกระถางไว้ในที่ที่มีร่มเงา อากาศถ่ายเท เมื่อรากใหม่งอกแล้วควรรดน้ำ 2-3 ครั้ง ต่อสัปดาห์



3. การต่อยอด ปัจจุ
บันนิยมทำกันมากกับแคคตัสพันธุ์ที่มีสีสันต่างๆ
ที่ไม่ใช่สีเขียว เช่น สกุล Gymnocalycium นำมาต่อกับต้นตอสีเขียว เช่น สกุล Cereus, Trichocereus หรือ Opuntia ซึ่งมีสารคลอโรฟีลล์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ดูดน้ำและแร่ธาตุไปเลี้ยงต้นที่มีสีที่หาอาหารเองไม่ได้ การต่อยอดช่วยร่นระยะเวลาการออกดอก ซึ่งปกติแคคตัสใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 ปีกว่าจะเจริญเติบโตจนผลิดอกบางสกุลใช้เวลา 10-20 ปีทีเดียว การต่อยอดจะช่วยให้ต้นแตกกิ่งก้านและออกดอกเร็วกว่าปกติ ยกเว้นบางสกุลที่มี cephalium เช่น Melocactus, Discocactus ที่ไม่ค่อยได้ผลในการร่นระยะเวลาการออกดอกนัก วิธีการต่อยอดทำโดยใช้มีดที่คมและสะอาดปาดส่วนยอดของต้นตอ (stock) และส่วนโคนของต้นพันธุ์ (scion) ต้องระวังให้รอยตัดเรียบสม่ำเสมอ เส้นผ่าศูนย์กลางรอยตัดควรใกล้เคียงกัน เพราะเนื้อ

เยื่อพืชแบ่งเป็น

 2 ชั้น คือ ชั้นนอกที่เรียกว่า epidermis และเนื้อเยื่อชั้นในซึ่งเรียกว่า vascular tissue เนื้อเยื่อชั้นนอกจะเจริญเติบโตเร็วกว่าชั้น

ใน ซึ่งเป็นส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ถ้าเนื้อเยื่อชั้นนอกของต้นตอและต้นพันธุ์เชื่อมติดกันและขยายขนาดจนรอยต่อสูงขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อชั้นในที่เจริญช้ากว่าไม่เชื่อมติดกัน ต้นพันธุ์มาวางซ้อนบนต้นตอ ยึดด้วยด้ายหรือเทปใส จากนั้นนำกระถางไปวางไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเท และมีระดับความชื้นในอากาศไม่สูงมากนัก ช่วงนี้ยังไม่ต้องรดน้ำ หลังจากนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ รอยต่อจะเชื่อมติดกัน แล้วจึงแกะด้ายหรือเทปใสออก รดน้ำตามปกติ 

การดูแลกระบองเพชร


การปลูกกระบองเพชรด้วยเมล็ด
      การปลูกกระบองเพชรด้วยเมล็ด ให้นำเมล็ดแก่หรือเมล็ดจากผลที่ปริแตก มาแช่น้ำ 2-5 นาที จากนั้นล้างเมือก            ออก แล้วตากแดดให้แห้งประมาณ 1-2 วัน พักไว้อีก 1-2 เดือน ค่อนนำมาปลูกลงในกระถาง  โดยใช้ทรายหรือดินร่วนผสมกับ        ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตรา 1:1 ส่วน ใส่ลงในกระถางพลาสติกเล็ก ๆ เพื่อทำการเพาะ ก่อนนำเมล็ดมาโรยแล้วเกลี่ยดินกลบ        เล็กน้อย ก่อนจะรดน้ำให้ชุ่มแล้วนำถุงพลาสติกมาหุ้มคลุมไว้ วางไว้ในที่มีแดดรำไร พร้อมกับเช็กเป็นระยะ หากดินแห้งให้            หมั่น  รดน้ำเป็นประจำ หากพบว่าเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนได้ 2-3 วัน ค่อยย้ายไปปลูกในกระถางใหญ่ หากต้องการปลูกในแปลง      เพื่อทำแนวรั้ว ให้ผสมดินร่วนกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 3:1 แล้วขุดดินเพื่อปลูก ขนาดหลุมประมาณ 30x30x30            เซนติเมตร 
 
           
การปักชำต้นกระบองเพชร

               วิธีการขยายพันธุต้นกระบองเพชรที่ง่ายและรวดเร็ว เลยเป็นที่นิยมกันมาก โดยเตรียมวัสดุปลูกเหมือนกับการปลูก        ใน   กระถาง จากนั้นนำต้นหรือกิ่งจากต้นแม่มาปักชำลงกระถาง วางไว้ในที่แดดรำไร และรดน้ำ 2 วันต่อครั้ง หลักงจากกิ่งชำ         ติดแล้วลดเหลือ 3 วันต่อครั้งก็พอ เพราะเป็นต้นไม้ที่ต้องการน้ำน้อยแต่ต้องการต่อเนื่อง 



Image result for การปลูกกระบองเพชร













 การรักษากระบองเพชร                                                                                   


                1. การรดน้ำ วิธีการลดน้ำที่ถูกต้องคือต้องรดให้โชกถึงราก                 และรดครั้งต่อไปเมื่อดินเริ่มแห้ง ระวังอย่าให้น้ำขังหรือดินแฉะ แค               คตัสอาจเน่าหรือเป็นโรคตายได้ต้องรู้ไว้ก่อนว่าแคคตัสแต่ละพันธุ์มี             ความต้องการปริมาณน้ำและความถี่ในการรดน้ำต่างกันไป จึงมีวิธี               ทดสอบง่ายๆ โดยการปักไม้แห้งเล็กๆ ลงไปให้ลึกถึงโคนกระถางใน             วันที่รดน้ำ เมื่อนับระยะเวลาจากวันที่รดน้ำวันแรกจนถึงวันที่ไม้ปัก               แห้งก็จะได้ช่วงเวลาในการลดน้ำที่เหมาะสม  
                                               2. แสงแดดและอุณหภูมิ ช่วงแดดที่เหมาะสมกับแคคตัสนั้นเป็นช่วงเช้าหรือช่วงบ่ายที่แดดไม่ร้อนมาก นัก ถ้าได้รับแสงมากเกินไปต้นไม้จะแห้งเป็นสีน้ำตาล ดังนั้นต้องใส่ใจเรื่องร่มเงาหรือพรางแสงให้เหลือประมาณ 70-80% แคคตัสส่วนใหญ่เป็นพืชเมืองร้อนอยู่แล้ว ในเมืองไทยจึงสามารถเลี้ยงแคคตัสได้ดีในเกือบทุกฤดูในอุณหภูมิราว 27-32 องศาเซลเซียส                                    


 3. ธาตุอาหารหรือปุ๋ย ส่วนมานิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เพราะมีสูตรให้เลือกมากมาย   ซึ่งทำให้เกิดชนิดและปริมาณธาตุอาหารได้ง่าย ปริมาณการให้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแคคตัสแต่ละพันธุ์ ขนาดต้น รวมทั้งสภาพแวดล้อมในการ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปุ๋ยเข้มข้นจนเกินไป                                                                               

จัดทำโดย

นางสาวศศิกานต์ ธิโลก ชั้น ม.5/1 เลขที่ 12

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประวัติความเป็นมา





Image result for cactus น่ารัก
ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของกระบองเพชร

มีข้อสันนิษฐานว่า ต้นตระกูลของแคคตัสนั้นเริ่มเกิดขึ้นในช่วงปลายของยุค Mesozoic และช่วงเริ่มต้นของยุค Tertiary ซึ่งเป็นยุคที่พืชมีดอกมีการพัฒนามากที่สุด เดิมต้นแคคตัสมีลักษณะไม่แตกต่างไปจากพืชอื่นมากนัก เช่น สกุล (genus) Pereskia ซึ่งยังคงมีใบที่แท้จริงและทรงต้นเหมือนพืชอื่นทั่วไป แต่ด้วยเหตุที่ต้องผจญกับสภาพอากาศซึ่งเลวลงตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ปริมาณ น้ำฝนลดลงและอากาศร้อนแห้งแล้ง จึงมีผลกระทบต่อพืชในเขตอเมริกาใต้ซึ่งได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงและต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถต้านทานต่อช่วงอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้การสะสมน้ำจำนวน มากไว้ที่ลำต้น ทำให้ลำต้นมีลักษณะอวบอ้วนและสั้นลง แคคตัสเป็นพืชพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ ในทวีปอเมริกา และมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังแหล่งอื่นๆด้วยวิธีการต่างๆกัน เช่น แคคตัสสกุล Rhipsalis แพร่พันธุ์อยู่ในแอฟริกาและอินเดียโดยนก หรือแคคตัสสกุล Opuntia บางชนิดที่มีผู้นำเข้า ไปปลูกเลี้ยงในยุโรป เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยไม่มีบันทึกแน่ชัดว่ามีการนำแคคตัสเข้ามาปลูกเลี้ยง เมื่อใด แต่น่าจะยาวนานกว่า 30 ปี โดยในสมัยก่อนมีแคคตัสเพียงไม่กี่พันธุ์ เช่นที่เราเรียกกันว่า ใบเสมา (Opuntia) โบตั๋น (Rhipsalis) เป็นต้น


Image result for กระบองเพชรจิ๋ว
Related image
                                                                         Related image